วิเคราะห์สถานการณ์

            โปรแกรมสามารถดึงข้อมูลโควิด19 ที่เป็นปัจจุบันจากแหล่งข้อมูลในอินเตอร์เนต และแสดงกราฟของข้อมูลชนิดต่างๆ ของประเทศต่างๆ เช่นจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิต ผู้หายป่วย จำนวนการตรวจเชื้อ รวมทั้ง...

          จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม PyCovid ซึ่งได้ประมวลข้อมูลจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิต และผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจนหายในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2563 จะเห็นได้จากกราฟที่ 1 (บน...

              ในวันนี้ (10 ส.ค. 63) นครปารีสจะมีการใช้กฏหมายบังคับให้บุคคลที่อายุ 11 ขึ้นไป สวมหน้ากากอนามัยในพื้นที่ที่กำหนด ดังแสดงในภาพที่ 1 โดยมีระยะเวลาบังคับ 1 เดือน (1) หลังจากที่สาธารณรัฐฝ...

More Articles

อ่านเพิ่มเติม: วิเคราะห์สถานการณ์

หน้ากากผ้าไหม

งานวิจัยนี้เป็นการนำวิทยาศาสตร์ชั้นสูงมาพัฒนาและยกระดับสิ่งทอจากเส้นใยธรรมชาติที่เป็นวัสดุท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเป็นหน้ากากทางการแพทย์ โดยการใช้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอนมาใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างสามมิติ

สมบัติทางวัสดุศาสตร์ และสมบัติทางเคมี อันเป็นปัจจัยสำคัญต่อประสิทธิภาพการกรอง เปรียบเทียบกับหน้ากากอนามัยทางการแพทย์แบบใช้แล้วทิ้ง และผ้าชนิดต่าง ๆ ที่มีเส้นใยและรูปแบบการทอแตกต่างกัน

ภาพประกอบแสงขาว Page 1  ภาพประกอบแสงขาว Page 2

 

          

          ผลการศึกษาด้วยแสงซินโครตรอน ในเทคนิค X-ray tomographic microscopy (XTM) สามารถบ่งชี้ลักษณะของเส้นใย ขนาดเส้นด้าย และรูปแบบการทอ รวมถึงการกระจายตัวของช่องว่างภายในผ้าได้แบบสามมิติ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดประสิทธิภาพการกรองของผ้าชนิดต่าง ๆ ผลวิเคราะห์แบบสามมิติ พบว่า ผ้าไหมธรรมชาติมีขนาดเส้นด้ายที่เล็กและยาวต่อเนื่องกว่าผ้าที่ทอด้วยเส้นใยสังเคราะห์  ทำให้รูปแบบการทอสามารถทอได้แน่นสม่ำเสมอและมีช่องว่างขนาดเล็ก ทีมวิจัยจึงนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ออกแบบรูปแบบการทอผ้าไหมให้สามารถกรองฝุ่นและแบคทีเรียได้ดีเทียบเท่ากับหน้ากากทางการแพทย์ โดยปรับเปลี่ยนขนาดเส้นไหมเป็นไหมควบ 3 เส้นและทอลายขัด 2 ตะกอ ซึ่งทดสอบแล้วพบว่าผ้าไหมนี้กรองอนุภาค PM 2.5 และ 0.3 ไมครอนได้มากถึง 85% ซึ่งดีกว่าผ้ามัสลินที่กรองได้เพียง 16-18%  แต่ที่พิเศษกว่าก็คือผ้าไหมยังให้การระบายอากาศได้ดี ให้ความรู้สึกเย็นและไม่ทำให้อึดอัดหากต้องสวมใส่เป็นเวลานาน  รวมถึงผลการวิเคราะห์ผ้าไหมด้วยเทคนิค in situ wide-angle X-ray scattering (WAXS) ยังพบว่าผ้าไหมมีโครงสร้างผลึกที่แข็งแรง ทนต่อแรงดึงได้ดีกว่าผ้ามัสลินที่นิยมใช้ทำหน้ากากในปัจจุบัน  จึงสามารถซักและนำกลับมาใช้ซ้ำได้โดยไม่มีผลต่อโครงสร้าง  นอกจากนี้ยังพบว่าในผ้าไหมมีการกระจายของตัวของซิงค์ออกไซด์ (ZnO) ในธรรมชาติ ซึ่งมีศักยภาพในการต้านเชื้อแบคทีเรียจากการวิเคราะห์โครงสร้างเคมีเชิงลึกด้วยเทคนิค X-ray absorption near edge spectroscopy (XANES) และ X-ray fluorescence spectroscopy (XRF)

 

ภาพประกอบแสงขาว Page 3 ภาพประกอบแสงขาว Page 4

          งานวิจัยนี้เป็นตัวอย่างนำร่องที่ทำให้เห็นว่า เราสามารถนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงมาวิเคราะห์และพัฒนาเพื่อยกระดับสิ่งทอท้องถิ่น เป็นการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของสิ่งทอที่นอกจากจะให้ความสวยงามแก่ผู้สวมใส่แล้ว ยังสามารถออกแบบให้ใช้งานได้จริง เช่น การพัฒนาหน้ากากผ้าจากผ้าไหมที่เพิ่มคุณสมบัติการกรองเข้าไปด้วยการปรับเปลี่ยนขนาดเส้นใยและรูปแบบการทอให้ได้มาตรฐานการกรองสามารถนำมาใช้ทดแทนหน้ากากทางการแพทย์ได้ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  องค์ความรู้ที่ได้ยังสามารถต่อยอดไปสู่การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมสิ่งทอจากเส้นใยธรรมชาติที่มีอยู่มากมายในประเทศในรูปแบบอื่น ๆ ให้มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ  ซึ่งจะก่อให้เกิดการสร้างงานในท้องถิ่น และส่งเสริมรายได้เข้าสู่ชุมชนท้องถิ่น

 

ห้องปฏิบัตการแสงสยาม

ความคืบหน้างานวิจัยยา-วัคซีน

ใครจะเป็นกลุ่มแรกที่จะได้รับวัคซีน โควิด-19       องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำแนะนำเพื่อจัดลำความสำคัญของคนที่ทำงานเกี่ยวกับสุขภาพ และคนที่ทำงานแนวหน้า        เรายังไม่รู้ว่าอีกนานเท่าไร ว...

  Sam Mohiddin นายแพทย์โรคหัวใจซึ่งเป็นผู้นำการวิจัย รวบรวมหลักฐานผลการสแกน MRI ตำแหน่งหัวใจของผู้ป่วยโควิด-19 อาการระดับกลางหรือรุนแรง รวมทั้งของตัวเองและพยายามหาคำตอบว่า “ในบรรดาผู้ป่วยโค...

        ขณะนี้การใช้ยาไฮโดรซีคลอโรควิน (Hydroxychloroquine) ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ซึ่งยานี้เป็นส่วนประกอบหลักในยาต้านมาลาเรีย จึงนำใช้ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาและยารักษาสำหรับผู้ป่วย...

อ่านเพิ่มเติม: ข่าวความคืบหน้างานวิจัยยา-วัคซีน

ซินโครตรอนกับโควิด-19

           อนุภาคไขมันขนาดนาโน ตัวนำส่งขนาดจิ๋ว ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของวัคซีนชนิด mRNA           จากรายงานประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยมในการทดลองทางคลินิกทำให้องค์การอนามัยโลกอนุมัติให้ใช้วัค...

            จากสถานการณ์โรคระบาดโควิด 2019 ซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ที่สามารถแพร่กระจายจากสัตว์สู่มนุษย์ได้นั้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกหันมาสนใจที่จะศึกษาโครงสร้างของตัวโปรตีนจากไวรัสด...

          นักวิจัย จากมหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน (Gottingen University) ได้พัฒนาเทคนิคการใช้แสงซินโครตรอนดูภาพสามมิติของเนื้อเยื่อปอดติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19              นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยเกิท...

อ่านเพิ่มเติม: ซินโครตรอนกับโควิด-19

ข่าวสาร

งานวิจัยนี้เป็นการนำวิทยาศาสตร์ชั้นสูงมาพัฒนาและยกระดับสิ่งทอจากเส้นใยธรรมชาติที่เป็นวัสดุท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเป็นหน้ากากทางการแพทย์ โดยการใช้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอนมาใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างสามมิติ ...

ประมาณหกเดือนที่แล้ว องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับรายงานจากทางการสาธารณสุขของสาธารณรัฐประชาชนจีนว่ามีโรคปอดติดเชื้อระบาดในหวู่ฮั่น ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคนั้นมาจากสัตว์และติดต่อสู่คนได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว แม้ว่านักไวรัสวิทยาเคยมีการเตือนมานานแล้วว่าเชื้อ coronaviruses จากค้างคาวในจีนสามารถทำให้เกิด...

บริษัท i3 Biomedical Inc., ประเทศแคนาดา ผลิตหน้ากากอนามัยแบบใหม่ที่ยับยั้งเชื้อ SARS-CoV-2 ได้สำเร็จ โดยตั้งชื่อว่า “TrioMed Active mask” ซึ่งที่ผิวด้านนอกของหน้ากากสามารถยับยั้งเชื้อไวรัสได้ภายในไม่กี่นาที ทางบริษัทใช้เวลาและเงินหลายล้านดอลลาร์ในการพัฒนาหน้ากากอนามัยนี้  โดยหน้ากากอนามัยแบบใหม่ดั...

อ่านเพิ่มเติม: ข่าวสาร

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

01

Go to top