วิเคราะห์สถานการณ์

            โปรแกรมสามารถดึงข้อมูลโควิด19 ที่เป็นปัจจุบันจากแหล่งข้อมูลในอินเตอร์เนต และแสดงกราฟของข้อมูลชนิดต่างๆ ของประเทศต่างๆ เช่นจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิต ผู้หายป่วย จำนวนการตรวจเชื้อ รวมทั้ง...

          จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม PyCovid ซึ่งได้ประมวลข้อมูลจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิต และผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจนหายในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2563 จะเห็นได้จากกราฟที่ 1 (บน...

              ในวันนี้ (10 ส.ค. 63) นครปารีสจะมีการใช้กฏหมายบังคับให้บุคคลที่อายุ 11 ขึ้นไป สวมหน้ากากอนามัยในพื้นที่ที่กำหนด ดังแสดงในภาพที่ 1 โดยมีระยะเวลาบังคับ 1 เดือน (1) หลังจากที่สาธารณรัฐฝ...

More Articles

อ่านเพิ่มเติม: วิเคราะห์สถานการณ์

covid

ประมาณหกเดือนที่แล้ว องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับรายงานจากทางการสาธารณสุขของสาธารณรัฐประชาชนจีนว่ามีโรคปอดติดเชื้อระบาดในหวู่ฮั่น ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคนั้นมาจากสัตว์และติดต่อสู่คนได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว แม้ว่านักไวรัสวิทยาเคยมีการเตือนมานานแล้วว่าเชื้อ coronaviruses จากค้างคาวในจีนสามารถทำให้เกิดโรคระบาดได้ แต่เมื่อเกิดการระบาดแล้ว ทั้งนักวิทยาศาสตร์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขต้องเร่งทำความเข้าใจ และควบคุมไวรัสชนิดนี้ให้ได้ การระบาดครั้งนี้กระทบทั้งเศรษฐกิจและกิจวัตรประจำวันของผู้คนไปทั่วโลก

ขณะนี้มีหลายประเทศที่เริ่มเปิดประเทศอีกครั้ง โดยมีความหวังว่าจะสามารถควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้ แต่พวกเราไม่ควรลดระดับการเฝ้าระวัง เพราะจะทำให้เกิดการระบาดอีกครั้งได้ เช่น ในปักกิ่ง เกาหลี ญี่ปุ่น ที่เกิดการระบาดอีกรอบ หรือประเทศนิวซีแลนด์ที่พบผู้ติดเชื้อ 2 คนที่เดินทางมาจากอังกฤษหลังจากที่รัฐบาลได้ยกเลิกมาตรการควบคุมโควิด เพื่อให้ประชาชนกลับไปใช้ชีวิตปกติเช่นเดิม และมีบางประเทศที่ไม่สามารถควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้ เช่น บางรัฐในสหรัฐอเมริกา

นักวิทยาศาสตร์พยายามอย่างมากที่จะศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อไวรัสนี้ ในช่วงแรกเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้คำแนะนำเกี่ยวการป้องกันตนเองจากเชื้อที่ใกล้เคียงกัน คือ โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือซาร์ส ที่เกิดจากเชื้อ SARS-CoV หรือโรคเมอร์ส (MERS-CoV) แต่ข้อสันนิษฐานเบื้องต้นบางอย่างผิด และยังมีอีกมากที่นักวิจัยต้องเร่งทำความเข้าใจ

 

สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากการระบาดหกเดือน รวมถึงสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ

เริ่มต้นการระบาด

การค้นพบปัจจุบัน

- เริ่มแรกของการระบาด จีนรายงานว่าเชื้อ Coronavirus ใหม่นี้ ไม่สามารถติดต่อได้ง่ายจากคนสู่คน

- วันที่ 20 มกราคม 2563 พบว่าเชื้อสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ก่อนที่จะมีอาการ หรือคนที่ไม่มีอาการก็สามารถแพร่เชื้อได้เช่นกัน

- เชื้อนี้คล้าย SARS และ MERS ติดเชื้อในปอดส่วนที่ลึก การแพร่ระบาดมาจากคนที่มีอาการ เช่น ไอ เป็นต้น

- เชื้อ SARS-CoV-2 สามารถติดเชื้อในโพรงจมูกได้ ทำให้สามารถติดต่อกันทางการหายใจ หรือพูดคุยกับคนที่มีอาการได้

- อาการเริ่มแรกคือมีไข้ หายใจหอบ หรือไอ

- อาการเริ่มต้นมีหลายอย่าง รวมถึงอ่อนแรง ท้องเสีย ปวดเมื่อยตามตัว รวมถึงสูญเสียการรับรสและกลิ่น

- คนที่มีอายุมากกว่า 65 ปีเป็นกลุ่มเสี่ยง มีอาการรุนแรง

- มีปัจจัยอื่นๆ นอกจากอายุ เช่น ความดันสูง โรคอ้วน หรือเบาหวาน หรือเชื้อชาติ เป็นต้น

- เด็กมีอาการไม่รุนแรง

- เด็กบางคนมีโรคแทรกซ้อนรุนแรง ร่วมกับการติดเชื้อ COVID-19

- คนป่วย 1 คน สามารถแพร่เชื้อต่อได้ 2-3 คน

- เริ่มแรกบางประเทศมีอัตราการแพร่เชื้อต่ำ เพราะมีระยะห่างทางสังคม ต่อมาพบว่าการติดเชื้อเป็นกลุ่ม

- มีการเสียชีวิตประมาณ 4% ของผู้ติดเชื้อ

- อัตราการเสียชีวิตขี้นกับการตรวจโรคในแต่ละประเทศ และบางคนมีอาการน้อย หรือไม่แสดงอาการ

- คนที่มีอาการหรือป่วยเท่านั้นที่ใส่หน้ากากอนามัย จากคำแนะนำของ WHO และ CDC

- คนไม่มีอาการสามารถแพร่เชื้อได้ การสวมหน้ากากอนามัยลดการแพร่เชื้อได้

- ไม่มียารักษาและ ไม่มีวัคซีนในการควบคุมการแพร่กระจายของไวรัส

- มีการวิจัยทดสอบยา พบว่า Remdesivir สามารถช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว หรือยา Dexamethasone ลดความเสี่ยงในการเสียชีวิต ยาโรคมาลาเรีย ไม่สามารถรักษาได้ และ มีวัคซีนมากกว่า 150 ชนิดกำลังพัฒนา และทำการทดลองในคน

 

 สิ่งที่เรายังไม่รู้

- ทำไมเชื้อนี้สามารถแพร่กระจายได้มากกว่า SARS หรือ MERS

- นักวิทยาศาสตร์ยังทำการค้นคว้าว่าไวรัสเข้าและออกจากเซลล์ได้อย่างไร และเซลล์ชนิดใดบ้างที่สามารถติดเชื้อได้ ตั้งแต่ปอดไปจนถึงลำไส้ และค้นคว้าว่าสัตว์ชนิดใดบ้าง ที่สามารถนำเชื้อมาสู่คนได้ 

 

แปลและเรียบเรียง :  ดร.รัตนา เจริญวัฒนาเสถียร

ที่มา: https://www.sciencenews.org/article/coronavirus-covid-19-pandemic-six-months-what-we-know

ความคืบหน้างานวิจัยยา-วัคซีน

ใครจะเป็นกลุ่มแรกที่จะได้รับวัคซีน โควิด-19       องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำแนะนำเพื่อจัดลำความสำคัญของคนที่ทำงานเกี่ยวกับสุขภาพ และคนที่ทำงานแนวหน้า        เรายังไม่รู้ว่าอีกนานเท่าไร ว...

  Sam Mohiddin นายแพทย์โรคหัวใจซึ่งเป็นผู้นำการวิจัย รวบรวมหลักฐานผลการสแกน MRI ตำแหน่งหัวใจของผู้ป่วยโควิด-19 อาการระดับกลางหรือรุนแรง รวมทั้งของตัวเองและพยายามหาคำตอบว่า “ในบรรดาผู้ป่วยโค...

        ขณะนี้การใช้ยาไฮโดรซีคลอโรควิน (Hydroxychloroquine) ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ซึ่งยานี้เป็นส่วนประกอบหลักในยาต้านมาลาเรีย จึงนำใช้ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาและยารักษาสำหรับผู้ป่วย...

อ่านเพิ่มเติม: ข่าวความคืบหน้างานวิจัยยา-วัคซีน

ซินโครตรอนกับโควิด-19

           อนุภาคไขมันขนาดนาโน ตัวนำส่งขนาดจิ๋ว ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของวัคซีนชนิด mRNA           จากรายงานประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยมในการทดลองทางคลินิกทำให้องค์การอนามัยโลกอนุมัติให้ใช้วัค...

            จากสถานการณ์โรคระบาดโควิด 2019 ซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ที่สามารถแพร่กระจายจากสัตว์สู่มนุษย์ได้นั้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกหันมาสนใจที่จะศึกษาโครงสร้างของตัวโปรตีนจากไวรัสด...

          นักวิจัย จากมหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน (Gottingen University) ได้พัฒนาเทคนิคการใช้แสงซินโครตรอนดูภาพสามมิติของเนื้อเยื่อปอดติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19              นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยเกิท...

อ่านเพิ่มเติม: ซินโครตรอนกับโควิด-19

ข่าวสาร

งานวิจัยนี้เป็นการนำวิทยาศาสตร์ชั้นสูงมาพัฒนาและยกระดับสิ่งทอจากเส้นใยธรรมชาติที่เป็นวัสดุท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเป็นหน้ากากทางการแพทย์ โดยการใช้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอนมาใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างสามมิติ ...

ประมาณหกเดือนที่แล้ว องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับรายงานจากทางการสาธารณสุขของสาธารณรัฐประชาชนจีนว่ามีโรคปอดติดเชื้อระบาดในหวู่ฮั่น ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคนั้นมาจากสัตว์และติดต่อสู่คนได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว แม้ว่านักไวรัสวิทยาเคยมีการเตือนมานานแล้วว่าเชื้อ coronaviruses จากค้างคาวในจีนสามารถทำให้เกิด...

บริษัท i3 Biomedical Inc., ประเทศแคนาดา ผลิตหน้ากากอนามัยแบบใหม่ที่ยับยั้งเชื้อ SARS-CoV-2 ได้สำเร็จ โดยตั้งชื่อว่า “TrioMed Active mask” ซึ่งที่ผิวด้านนอกของหน้ากากสามารถยับยั้งเชื้อไวรัสได้ภายในไม่กี่นาที ทางบริษัทใช้เวลาและเงินหลายล้านดอลลาร์ในการพัฒนาหน้ากากอนามัยนี้  โดยหน้ากากอนามัยแบบใหม่ดั...

อ่านเพิ่มเติม: ข่าวสาร

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

01

Go to top