วิเคราะห์สถานการณ์

            โปรแกรมสามารถดึงข้อมูลโควิด19 ที่เป็นปัจจุบันจากแหล่งข้อมูลในอินเตอร์เนต และแสดงกราฟของข้อมูลชนิดต่างๆ ของประเทศต่างๆ เช่นจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิต ผู้หายป่วย จำนวนการตรวจเชื้อ รวมทั้ง...

          จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม PyCovid ซึ่งได้ประมวลข้อมูลจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิต และผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจนหายในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2563 จะเห็นได้จากกราฟที่ 1 (บน...

              ในวันนี้ (10 ส.ค. 63) นครปารีสจะมีการใช้กฏหมายบังคับให้บุคคลที่อายุ 11 ขึ้นไป สวมหน้ากากอนามัยในพื้นที่ที่กำหนด ดังแสดงในภาพที่ 1 โดยมีระยะเวลาบังคับ 1 เดือน (1) หลังจากที่สาธารณรัฐฝ...

More Articles

อ่านเพิ่มเติม: วิเคราะห์สถานการณ์

 

07

 

 

          นอกจากซินโครตรอนทั่วโลกจะเร่งวิจัยสู้วิกฤตโควิด-19 ตามที่ได้นำเสนอไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สถาบันวิจัยระดับชาติอย่างสถาบันวิจัยทางด้านโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อในประเทศสหรัฐอเมริกาก็ได้ทำการศึกษาการแพร่เชื้อของไวรัสโควิด-19 โดยทำการเปรียบเทียบไวรัสโควิด-19 ที่มีชื่อทางการว่า SARS-CoV-2 ในลักษณะละอองฝอย (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 5 ไมครอน) เปรียบเทียบกับไวรัสโรคโควิด-19 ที่ตกสะสมอยู่บนพื้นผิว ซึ่งเป็นการเลียนแบบสถานการณ์การแพร่เชื้อไวรัสจากผู้ติดเชื้อไปสู่การสัมผัสสิ่งของในครัวเรือนและโรงพยาบาลที่เกิดจากการไอหรือจาม เช่น พื้นผิวทองแดง กล่องกระดาษแข็ง พลาสติกพอลีไพรไพลีน และเหล็กกล้าไร้สนิมเกรด AISI304 เป็นต้น 

          จากการทดลองพบว่า ไวรัสโควิด-19 สามารถอยู่ในละอองฝอยได้นานถึง 3 ชั่วโมง และตกสะสมอยู่บนพื้นผิวทองแดงนานถึง 4 ชั่วโมง อยู่บนพื้นผิวของกล่องกระดาษแข็งได้นานถึง 24 ชั่วโมง และสามารถอยู่บนพื้นผิวพลาสติกและเหล็กกล้าไร้สนิมได้ถึง 2-3 วัน ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยบ่งชี้ให้เห็นว่าเราสามารถได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 ผ่านทางอากาศและจากการสัมผัสสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่ง เช่น เลือด น้ำลาย น้ำตา เหงื่อ น้ำมูก เสมหะ น้ำอุสจิและปัสสาวะ เป็นต้น 

          นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ทางสถาบันวิจัยแห่งชาติฯ ยังได้ทำการเปรียบเทียบไวรัสโควิด-19 (SARS-CoV-2) กับไวรัสซาร์ส (SARS-CoV-1) เนื่องจากไวรัสซาร์สนั้นมีสารพันธุกรรมที่คล้ายกับเชื้อไวรัสโควิด-19 ถึงร้อยละ 89.1 และไวรัสซาร์สยังถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศจีน ก่อนจะเกิดการระบาดไปทั่วโลก จนกระทั้งในปี ค.ศ. 2004 โรคซาร์สก็กลายเป็นโรคระบาดที่สามารถควบคุมได้จากการติดตามผู้ติดเชื้อและใช้มาตรการแยกคนติดเชื้อไวรัสซาร์สอย่างเข้มงวด จึงมีความเป็นไปได้ที่จะใช้วิธีการคุมการระบาดไวรัสโควิด-19 เหมือนกับโรคซาร์ส แต่นักวิทยาศาสตร์ทางสถาบันวิจัยแห่งชาติฯ กลับไม่สามารถอธิบายได้ว่า "ทำไมไม่สามารถคุมการระบาดไวรัสโควิด-19 ได้เหมือนไวรัสซาร์ส! ในวันนี้" 

          นักวิทยาศาสตร์ทางสถาบันวิจัยแห่งชาติฯ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า................มีความเป็นไปได้ว่าผู้ติดเชื้อได้แพร่เชื้อไวรัสโควิดโดยไม่รู้ตัวหรือก่อนที่จะมีอาการ จึงทำให้ไม่สามารถควบคุมไวรัสโควิด-19 ได้เท่ากับการควบคุมไวรัสซาร์ส นอกจากนี้ยังพบว่า การเกิดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ในระยะที่สอง จะเกิดขึ้นในบริเวณชุมชนแทนที่จะเกิดบริเวณสถานพยาบาล แต่อย่างไรก็ตามสถานพยาบาลก็ยังถือเป็นจุดเสี่ยงในการแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 เนื่องจากสถานพยาบาลนั้นมีเชื้อไวรัสในลักษณะละอองฝอยและมีการตกสะสมของสารคัดหลั่งของผู้ป่วยปนเปื้อนอยู่บนพื้นผิว 

 

          ดังนั้นเราควรปฏิบัติติตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญทางด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโดย       

                   1. หลีกเลี่ยงการออกไปพื้นที่ชุมชน เช่น ศาสนสถาน ตลาด ห้างสรรพสินค้า สถานที่ออกกำลังกาย ฯลฯ พยายามอยู่บ้านให้มากที่สุด หากจำเป็นต้องออกนอกบ้านควรป้องกันตัวเองด้วยการใส่หน้ากาก
                   2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสตา จมูกและปาก
                   3. กินร้อนช้อนกลาง 
                   4. ใช้กระดาษชำระเมื่อไอหรือจามเพื่อลดการกระจายเชื้อโรค และทิ้งกระดาษชำระลงในถังขยะเพื่อป้องกันผู้อื่นสัมผัสสารคัดหลั่ง หากไม่มีกระดาษชำระควรให้ใช้ข้อศอกหรือแขนเวลาไอหรือจามแทนการใช้มือปิดปาก เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสจากมือแพร่กระจายไปสัมผัสกับเครื่องใช้อื่นๆ 
                   5. ทำความสะอาดบ้านและฆ่าเชื้อโรคสิ่งของเครื่องใช้ด้วยน้ำยาทำความมสะอาดเป็นประจำ
                   6. หลีกเลี่ยงการติดต่อกับผู้ป่วย
                   7. และสุดท้ายอย่าลืมนำเคมเปญ ช่วยไทยผ่านวิกฤตโควิด-19 มาใช้นะคะ “โรคติดต่อ จะไม่ติดต่อ ถ้าเราไม่ติดต่อกัน”

 

ด้วยความปรารถนาดีจากสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน

แปลและเรียบเรียง : ดร.ภัคนนันท์ ภัควนิตย์

******************************************

เอกสารอ้างอิง

1.https://www.nih.gov/news-events/news-releases/new-coronavirus-stable-hours-surfaces

2.N van Doremalen, et al. Aerosol and surface stability of HCoV-19 (SARS-CoV-2) compared to SARS-CoV-1. The New England Journal of Medicine. DOI: 10.1056/NEJMc2004973 (2020).

3.http://haamor.com/th/สารคัดหลั่ง/

4.https://tmc.or.th/pdf/Covid-19-MD-AmornUpdate.pdf

*****************************************

ติดต่อขอใช้บริการได้ที่ ซินโครตรอนไทยแลนด์ เซ็นทรัลแล็บ

Synchrotron Thailand Central Lab

โทร. 08-1955-6518, 08-9949-7313

โดย สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)

Synchrotron Light Research Institute (Public Organization)

www.slri.or.th

 

ความคืบหน้างานวิจัยยา-วัคซีน

ใครจะเป็นกลุ่มแรกที่จะได้รับวัคซีน โควิด-19       องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำแนะนำเพื่อจัดลำความสำคัญของคนที่ทำงานเกี่ยวกับสุขภาพ และคนที่ทำงานแนวหน้า        เรายังไม่รู้ว่าอีกนานเท่าไร ว...

  Sam Mohiddin นายแพทย์โรคหัวใจซึ่งเป็นผู้นำการวิจัย รวบรวมหลักฐานผลการสแกน MRI ตำแหน่งหัวใจของผู้ป่วยโควิด-19 อาการระดับกลางหรือรุนแรง รวมทั้งของตัวเองและพยายามหาคำตอบว่า “ในบรรดาผู้ป่วยโค...

        ขณะนี้การใช้ยาไฮโดรซีคลอโรควิน (Hydroxychloroquine) ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ซึ่งยานี้เป็นส่วนประกอบหลักในยาต้านมาลาเรีย จึงนำใช้ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาและยารักษาสำหรับผู้ป่วย...

อ่านเพิ่มเติม: ข่าวความคืบหน้างานวิจัยยา-วัคซีน

ซินโครตรอนกับโควิด-19

           อนุภาคไขมันขนาดนาโน ตัวนำส่งขนาดจิ๋ว ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของวัคซีนชนิด mRNA           จากรายงานประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยมในการทดลองทางคลินิกทำให้องค์การอนามัยโลกอนุมัติให้ใช้วัค...

            จากสถานการณ์โรคระบาดโควิด 2019 ซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ที่สามารถแพร่กระจายจากสัตว์สู่มนุษย์ได้นั้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกหันมาสนใจที่จะศึกษาโครงสร้างของตัวโปรตีนจากไวรัสด...

          นักวิจัย จากมหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน (Gottingen University) ได้พัฒนาเทคนิคการใช้แสงซินโครตรอนดูภาพสามมิติของเนื้อเยื่อปอดติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19              นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยเกิท...

อ่านเพิ่มเติม: ซินโครตรอนกับโควิด-19

ข่าวสาร

งานวิจัยนี้เป็นการนำวิทยาศาสตร์ชั้นสูงมาพัฒนาและยกระดับสิ่งทอจากเส้นใยธรรมชาติที่เป็นวัสดุท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเป็นหน้ากากทางการแพทย์ โดยการใช้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอนมาใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างสามมิติ ...

ประมาณหกเดือนที่แล้ว องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับรายงานจากทางการสาธารณสุขของสาธารณรัฐประชาชนจีนว่ามีโรคปอดติดเชื้อระบาดในหวู่ฮั่น ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคนั้นมาจากสัตว์และติดต่อสู่คนได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว แม้ว่านักไวรัสวิทยาเคยมีการเตือนมานานแล้วว่าเชื้อ coronaviruses จากค้างคาวในจีนสามารถทำให้เกิด...

บริษัท i3 Biomedical Inc., ประเทศแคนาดา ผลิตหน้ากากอนามัยแบบใหม่ที่ยับยั้งเชื้อ SARS-CoV-2 ได้สำเร็จ โดยตั้งชื่อว่า “TrioMed Active mask” ซึ่งที่ผิวด้านนอกของหน้ากากสามารถยับยั้งเชื้อไวรัสได้ภายในไม่กี่นาที ทางบริษัทใช้เวลาและเงินหลายล้านดอลลาร์ในการพัฒนาหน้ากากอนามัยนี้  โดยหน้ากากอนามัยแบบใหม่ดั...

อ่านเพิ่มเติม: ข่าวสาร

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

01

Go to top