วิเคราะห์สถานการณ์

            โปรแกรมสามารถดึงข้อมูลโควิด19 ที่เป็นปัจจุบันจากแหล่งข้อมูลในอินเตอร์เนต และแสดงกราฟของข้อมูลชนิดต่างๆ ของประเทศต่างๆ เช่นจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิต ผู้หายป่วย จำนวนการตรวจเชื้อ รวมทั้ง...

          จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม PyCovid ซึ่งได้ประมวลข้อมูลจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิต และผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจนหายในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2563 จะเห็นได้จากกราฟที่ 1 (บน...

              ในวันนี้ (10 ส.ค. 63) นครปารีสจะมีการใช้กฏหมายบังคับให้บุคคลที่อายุ 11 ขึ้นไป สวมหน้ากากอนามัยในพื้นที่ที่กำหนด ดังแสดงในภาพที่ 1 โดยมีระยะเวลาบังคับ 1 เดือน (1) หลังจากที่สาธารณรัฐฝ...

More Articles

อ่านเพิ่มเติม: วิเคราะห์สถานการณ์

          

อนุภาคไขมันขนาดนาโน ตัวนำส่งขนาดจิ๋ว ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของวัคซีนชนิด mRNA

          จากรายงานประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยมในการทดลองทางคลินิกทำให้องค์การอนามัยโลกอนุมัติให้ใช้วัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA vaccine) แบบเร่งด่วน อีกทั้งศักยภาพในการพัฒนาและปรับปรุงวัคซีนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของไวรัส วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิดเอ็มอาร์เอนเอจึงเป็นที่ต้องการของผู้คนท่ามกลางความหวั่นวิตกต่อการระบาดของสายพันธุ์ที่มีความรุนแรงมากขึ้นในขณะนี้

          เนื่องจาก mRNA เป็นสารชีวโมเลกุลที่มีความเสถียรต่ำมาก การทดลองฉีด mRNA เข้าสู่ร่างกายโดยตรงพบว่า mRNA เสื่อมสภาพลงอย่างรวดเร็วก่อนที่จะกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายเสียอีก การนำเอา mRNA เข้าสู่เซลล์จึงเป็นเรื่องท้าทายอย่างมาก การพัฒนาวิธีการกักเก็บ mRNA ให้รอดพ้นจากการถูกทำลายและนำส่งเข้าสู่เซลล์จึงเริ่มขึ้น อนุภาคไขมันขนาดนาโนได้รับความสนใจและศึกษาเป็นเวลาหลายปีในฐานะตัวนำส่งโมเลกุลขนาดเล็กสู่เซลล์ ด้วยคุณสมบัติทางชีวเคมีที่ไม่แตกต่างจากไขมันที่อยู่ในร่างกายตามธรรมชาติที่เซลล์รู้จักอยู่แล้ว ทำให้สามารถเข้าสู่เซลล์ได้โดยง่าย

          ก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการใช้อนุภาคไขมันขนาดนาโนเพื่อนำส่งสารพันธุกรรมเข้าไปยับยั้งการทำงานที่ผิดปกติของระบบการผลิตโปรตีนในเซลล์ ทำให้ยา Onpattro® (Patisiran) ที่ใช้รักษาโรคทางพันธุกรรมจากการที่ร่างกายสร้างโปรตีนผิดปกติ ได้รับการอนุมัติโดยองค์การอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2018 และเปิดทางนำไปสู่การพัฒนายาอื่น ๆ ที่ใช้หลักการเดียวกัน และยังนับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในพัฒนาวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอในเวลาต่อมา

          ขนาดและรูปร่างของอนุภาคขนาดนาโนในสภาวะของเหลวถูกศึกษาโดยเทคนิคการกระเจิงรังสีเอกซ์ด้วยแสงซินโครตรอนที่สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนสปริง 8 (Spring-8) ในประเทศญี่ปุ่นร่วมกับเทคโนโลยีการถ่ายภาพจุลทรรศน์อิเล็กตรอนภายใต้ความเย็นยิ่งยวด  แสดงให้เห็นการเกิดการจับคู่ของไขมันในขั้นตอนต่าง ๆ จนกระทั่งมีการก่อตัวของอนุภาคไขมันขนาดเล็กกว่า 100 นาโนเมตรขึ้นโดยมีสารพันธุกรรมอยู่เป็นแกนกลางและมีไขมันเป็นเปลือกห่อหุ้มด้านนอก

          การผลิตวัคซีนชนิดใหม่ของโลกนี้ใช้เครื่องมือพิเศษที่เรียกว่าระบบของไหลจุลภาค (microfluidic system) ผสมไขมันที่ละลายอยู่ในแอลกอฮอล์กับ mRNA ที่ละลายในสารละลายที่มีสภาวะเป็นกรด ไขมันประจุบวกจะสร้างพันธะกับโครงสร้างของ mRNA ที่มีประจุลบได้ ผลผลิตที่ได้คือ mRNA ที่ห่อหุ้มด้วยไขมันที่มีขนาดอนุภาคระดับนาโนเมตร โดย mRNA ที่ถูกห่อหุ้มอยู่ จะเป็นตัวนำส่งแบบพิมพ์เขียวในการสร้างโปรตีนชื่อ Spike A ของไวรัสโคโรน่าก่อโรคโควิด-19 

          นักวิจัยจากบริษัทไฟเซอร์-ไบโอเอนเทค ใช้เทคนิคการกระเจิงรังสีเอกซ์ ที่สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนเพทตราทรี (PETRA III) ในประเทศเยอรมนี ศึกษาโครงสร้างภายในและประสิทธิภาพของอนุภาคไขมันขนาดนาโนที่ห่อหุ้ม mRNA เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญในการออกแบบวัคซีนให้มีความจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์แต่ละชนิด นอกจากนี้ยังได้สร้างระบบแบบจำลองอนุภาคไขมันเพื่อศึกษาผลของความเป็นกรดด่างต่อโครงสร้างภายในของอนุภาคนาโนเพื่อพัฒนากลไกการดูดซึมและปลดปล่อยอนุภาคไขมันขนาดนาโนเข้าสู่เซลล์ 

          การผนึกกำลังระหว่างนาโนเทคโนโลยีและไบโอเทคโนโลยีอันนำไปสู่การผลิตวัคซีนแบบใหม่ถอดด้ามโดยการนำเอาอนุภาคไขมันขนาดนาโนเพื่อนำส่งเอ็มอาร์เอ็นเอร์เข้าสู่เซลล์ร่างกายและกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อโรคระบาดครั้งร้ายแรงในประวัติศาสตร์ จึงเป็นความก้าวหน้าและความหวังในการกลับมามีชีวิตที่เป็นปกติสุขอีกครั้งของมวลมนุษยชาติ

(1) https://doi.org/10.1093/clinchem/48.10.1647

(2) https://doi.org/10.1038/s41392-020-0207-x

(3)  https://doi.org/10.1021/acs.langmuir.0c01079

(4) https://cen.acs.org/pharmaceuticals/drug-delivery/Without-lipid-shells-mRNA-vaccines/99/i8

(5) https://doi.org/10.1021/acs.langmuir.0c02446

Credit image: Gertrud U. Rey, https://www.virology.ws/2021/01/07/rna-in-a-nutshell/ 

under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.

 


 

 

Diagram

Description automatically generated

 

 

ความคืบหน้างานวิจัยยา-วัคซีน

ใครจะเป็นกลุ่มแรกที่จะได้รับวัคซีน โควิด-19       องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำแนะนำเพื่อจัดลำความสำคัญของคนที่ทำงานเกี่ยวกับสุขภาพ และคนที่ทำงานแนวหน้า        เรายังไม่รู้ว่าอีกนานเท่าไร ว...

  Sam Mohiddin นายแพทย์โรคหัวใจซึ่งเป็นผู้นำการวิจัย รวบรวมหลักฐานผลการสแกน MRI ตำแหน่งหัวใจของผู้ป่วยโควิด-19 อาการระดับกลางหรือรุนแรง รวมทั้งของตัวเองและพยายามหาคำตอบว่า “ในบรรดาผู้ป่วยโค...

        ขณะนี้การใช้ยาไฮโดรซีคลอโรควิน (Hydroxychloroquine) ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ซึ่งยานี้เป็นส่วนประกอบหลักในยาต้านมาลาเรีย จึงนำใช้ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาและยารักษาสำหรับผู้ป่วย...

อ่านเพิ่มเติม: ข่าวความคืบหน้างานวิจัยยา-วัคซีน

ซินโครตรอนกับโควิด-19

           อนุภาคไขมันขนาดนาโน ตัวนำส่งขนาดจิ๋ว ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของวัคซีนชนิด mRNA           จากรายงานประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยมในการทดลองทางคลินิกทำให้องค์การอนามัยโลกอนุมัติให้ใช้วัค...

            จากสถานการณ์โรคระบาดโควิด 2019 ซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ที่สามารถแพร่กระจายจากสัตว์สู่มนุษย์ได้นั้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกหันมาสนใจที่จะศึกษาโครงสร้างของตัวโปรตีนจากไวรัสด...

          นักวิจัย จากมหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน (Gottingen University) ได้พัฒนาเทคนิคการใช้แสงซินโครตรอนดูภาพสามมิติของเนื้อเยื่อปอดติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19              นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยเกิท...

อ่านเพิ่มเติม: ซินโครตรอนกับโควิด-19

ข่าวสาร

งานวิจัยนี้เป็นการนำวิทยาศาสตร์ชั้นสูงมาพัฒนาและยกระดับสิ่งทอจากเส้นใยธรรมชาติที่เป็นวัสดุท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเป็นหน้ากากทางการแพทย์ โดยการใช้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอนมาใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างสามมิติ ...

ประมาณหกเดือนที่แล้ว องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับรายงานจากทางการสาธารณสุขของสาธารณรัฐประชาชนจีนว่ามีโรคปอดติดเชื้อระบาดในหวู่ฮั่น ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคนั้นมาจากสัตว์และติดต่อสู่คนได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว แม้ว่านักไวรัสวิทยาเคยมีการเตือนมานานแล้วว่าเชื้อ coronaviruses จากค้างคาวในจีนสามารถทำให้เกิด...

บริษัท i3 Biomedical Inc., ประเทศแคนาดา ผลิตหน้ากากอนามัยแบบใหม่ที่ยับยั้งเชื้อ SARS-CoV-2 ได้สำเร็จ โดยตั้งชื่อว่า “TrioMed Active mask” ซึ่งที่ผิวด้านนอกของหน้ากากสามารถยับยั้งเชื้อไวรัสได้ภายในไม่กี่นาที ทางบริษัทใช้เวลาและเงินหลายล้านดอลลาร์ในการพัฒนาหน้ากากอนามัยนี้  โดยหน้ากากอนามัยแบบใหม่ดั...

อ่านเพิ่มเติม: ข่าวสาร

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

01

Go to top