วิเคราะห์สถานการณ์

            โปรแกรมสามารถดึงข้อมูลโควิด19 ที่เป็นปัจจุบันจากแหล่งข้อมูลในอินเตอร์เนต และแสดงกราฟของข้อมูลชนิดต่างๆ ของประเทศต่างๆ เช่นจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิต ผู้หายป่วย จำนวนการตรวจเชื้อ รวมทั้ง...

          จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม PyCovid ซึ่งได้ประมวลข้อมูลจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิต และผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจนหายในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2563 จะเห็นได้จากกราฟที่ 1 (บน...

              ในวันนี้ (10 ส.ค. 63) นครปารีสจะมีการใช้กฏหมายบังคับให้บุคคลที่อายุ 11 ขึ้นไป สวมหน้ากากอนามัยในพื้นที่ที่กำหนด ดังแสดงในภาพที่ 1 โดยมีระยะเวลาบังคับ 1 เดือน (1) หลังจากที่สาธารณรัฐฝ...

More Articles

อ่านเพิ่มเติม: วิเคราะห์สถานการณ์

          การที่ติดเชื้อไวรัสเข้าในร่างกายมนุษย์นั้น อาศัยการแพร่ขยายพันธุ์ เพิ่มจำนวนมาก ทำให้มีอาการไข้ อาเจียน เป็นต้น ถ้าเป็นเชื้อชนิดไม่รุนแรงร่างกายมนุษย์สามารถกำจัดเองได้โดยสร้างภูมิคุ้มกันทำลายเชื้อไวรัสโดยรักษาบรรเทาอาการเท่านั้น อย่างไรก็ตามเชื้อไวรัสบางชนิดมีการกลายพันธุ์สูง จนทำให้ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถปรับตัวได้ นำไปสู่โรคติดเชื้อไวรัสชนิดเรื้อรัง เช่น โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเรียกกันว่าโรคเอดส์  โรคไวรัสตับอักเสบ ฯลฯ เนื่องจากเชื้อไวรัสมีความสามารถในการกลายพันธุ์สูง จึงเป็นความท้าทายในการพัฒนายาต้านเชื้อไวรัส

 

          โดยทั่วไปการพัฒนายาต้านไวรัสในยุคเริ่มต้นอาศัยการทดสอบประสิทธิภาพของยาต่างๆที่มีต่อเชื้อไวรัส ซึ่งมีความยากลำบากว่าการค้นหายาปฏิชีวนะสำหรับเชื้อแบคทีเรีย การรักษาโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเช่น โรคหวัด ไข้เลือดออก จะเป็นการรักษาตามอาการทั่วไป อย่างไรก็ตามสำหรับการติดเชื้อไวรัสชนิดเรื้อรังอย่างโรคเอดส์ หรือโรคไวรัสตับอักเสบ จึงมีการวิจัยสร้างยาต้าน HIV และไวรัสตับอักเสบ อย่างต่อเนื่อง

 

          เมื่อมีการพัฒนาเทคนิคนำรังสีเอกซเรย์จากแสงซินโครตรอนศึกษาโครงสร้างสามมิติของโปรตีนที่เรียกว่า X-ray crystallography ซึ่งกระบวนการนี้สามารถดูโครงสร้างของโปรตีนในระดับอะตอม รวมทั้งโมเลกุลของน้ำหรือโมโนเมอร์ที่เข้าจับภายในบริเวณเร่งปฏิกิริยา เพื่อกระตุ้นหรือยับยั้งการทำงานของโปรตีน การศึกษาด้วยเทคนิคนี้ทำให้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนายาต้านเชื้อโรคได้

 

 

          กระบวนการศึกษาโครงสร้างสามมิติของโปรตีนเริ่มต้นด้วยการตัดต่อยีนส์ผลิตโปรตีนที่จำเป็นต่อการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสเข้าในเซลล์แบคทีเรียเพื่อผลิตปริมาณโปรตีนในจำนวนมากเพียงพอที่จะนำไปทำการตกผลึกกับสารเคมีเฉพาะ จนได้ผลึกโปรตีนที่มีลักษณะเฉพาะของโปรตีนนั้นๆ หลังจากนั้นนำขึ้นยิงลำแสงเอกซเรย์เพื่อเก็บข้อมูลภาพเลี้ยวเบนของผลึก และประมวลผลด้วยโปรแกรมเฉพาะทาง สุดท้ายได้ภาพโครงสร้างสามมิติของโปรตีนรวมทั้งภาพของโมโนเมอร์เข้าจับกับพื้นที่ที่เกิดปฏิกิริยาของโปรตีนหากมีการใส่สารโมโนเมอร์ในขั้นตอนการตกผลึก ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้สามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนายาต้านไวรัสจากโมเลกุลโมโนเมอร์

 

          ตัวอย่างงานวิจัยการพัฒนายาต้านไวรัสมาจากโมเลกุลโมโนเมอร์เล็กเข้าจับโปรตีนที่สนใจ เช่น โปรตีเอส, มาโครโดเมน และสไปค์โปรตีน ซึ่งโปรตีนเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มจำนวนเชื้อไวรัสภายในร่างกายของมนุษย์ ถ้าหาสามารถหาโมเลกุลเล็กยับยั้งการทำงานของโปรตีนได้ จะนำไปสู่การพัฒนายาต้านไวรัสก่อโรคโควิด-19 ได้เช่นกัน 

 รวบรวมข้อมูลและเรียบเรียงโดย ดร.จักรี์รดา อัตตรัถยา

ที่มา:

[1] https://www.amercrystalassn.org/the-role-of-crystallography-and-other-structural-science-in-covid-19-therapies

[2] https://www.ijidonline.com/article/S1201-9712(20)30011-4/fulltext

[3] https://www.oulu.fi/blogs/science-with-arctic-attitude/covid-19-pandemic-boosts-joint-efforts

[4] https://science.sciencemag.org/content/368/6489/409

[5] https://www.nature.com/articles/d41586-020-01444-z

[6] https://www.ucsf.edu/news/2020/07/418056/building-blocks-covid-19-antiviral-drugs-identified-rapid-study

[7] https://www.nature.com/articles/s41392-020-0178-y

ความคืบหน้างานวิจัยยา-วัคซีน

ใครจะเป็นกลุ่มแรกที่จะได้รับวัคซีน โควิด-19       องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำแนะนำเพื่อจัดลำความสำคัญของคนที่ทำงานเกี่ยวกับสุขภาพ และคนที่ทำงานแนวหน้า        เรายังไม่รู้ว่าอีกนานเท่าไร ว...

  Sam Mohiddin นายแพทย์โรคหัวใจซึ่งเป็นผู้นำการวิจัย รวบรวมหลักฐานผลการสแกน MRI ตำแหน่งหัวใจของผู้ป่วยโควิด-19 อาการระดับกลางหรือรุนแรง รวมทั้งของตัวเองและพยายามหาคำตอบว่า “ในบรรดาผู้ป่วยโค...

        ขณะนี้การใช้ยาไฮโดรซีคลอโรควิน (Hydroxychloroquine) ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ซึ่งยานี้เป็นส่วนประกอบหลักในยาต้านมาลาเรีย จึงนำใช้ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาและยารักษาสำหรับผู้ป่วย...

อ่านเพิ่มเติม: ข่าวความคืบหน้างานวิจัยยา-วัคซีน

ซินโครตรอนกับโควิด-19

           อนุภาคไขมันขนาดนาโน ตัวนำส่งขนาดจิ๋ว ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของวัคซีนชนิด mRNA           จากรายงานประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยมในการทดลองทางคลินิกทำให้องค์การอนามัยโลกอนุมัติให้ใช้วัค...

            จากสถานการณ์โรคระบาดโควิด 2019 ซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ที่สามารถแพร่กระจายจากสัตว์สู่มนุษย์ได้นั้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกหันมาสนใจที่จะศึกษาโครงสร้างของตัวโปรตีนจากไวรัสด...

          นักวิจัย จากมหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน (Gottingen University) ได้พัฒนาเทคนิคการใช้แสงซินโครตรอนดูภาพสามมิติของเนื้อเยื่อปอดติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19              นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยเกิท...

อ่านเพิ่มเติม: ซินโครตรอนกับโควิด-19

ข่าวสาร

งานวิจัยนี้เป็นการนำวิทยาศาสตร์ชั้นสูงมาพัฒนาและยกระดับสิ่งทอจากเส้นใยธรรมชาติที่เป็นวัสดุท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเป็นหน้ากากทางการแพทย์ โดยการใช้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอนมาใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างสามมิติ ...

ประมาณหกเดือนที่แล้ว องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับรายงานจากทางการสาธารณสุขของสาธารณรัฐประชาชนจีนว่ามีโรคปอดติดเชื้อระบาดในหวู่ฮั่น ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคนั้นมาจากสัตว์และติดต่อสู่คนได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว แม้ว่านักไวรัสวิทยาเคยมีการเตือนมานานแล้วว่าเชื้อ coronaviruses จากค้างคาวในจีนสามารถทำให้เกิด...

บริษัท i3 Biomedical Inc., ประเทศแคนาดา ผลิตหน้ากากอนามัยแบบใหม่ที่ยับยั้งเชื้อ SARS-CoV-2 ได้สำเร็จ โดยตั้งชื่อว่า “TrioMed Active mask” ซึ่งที่ผิวด้านนอกของหน้ากากสามารถยับยั้งเชื้อไวรัสได้ภายในไม่กี่นาที ทางบริษัทใช้เวลาและเงินหลายล้านดอลลาร์ในการพัฒนาหน้ากากอนามัยนี้  โดยหน้ากากอนามัยแบบใหม่ดั...

อ่านเพิ่มเติม: ข่าวสาร

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

01

Go to top