วิเคราะห์สถานการณ์

            โปรแกรมสามารถดึงข้อมูลโควิด19 ที่เป็นปัจจุบันจากแหล่งข้อมูลในอินเตอร์เนต และแสดงกราฟของข้อมูลชนิดต่างๆ ของประเทศต่างๆ เช่นจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิต ผู้หายป่วย จำนวนการตรวจเชื้อ รวมทั้ง...

          จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม PyCovid ซึ่งได้ประมวลข้อมูลจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิต และผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจนหายในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2563 จะเห็นได้จากกราฟที่ 1 (บน...

              ในวันนี้ (10 ส.ค. 63) นครปารีสจะมีการใช้กฏหมายบังคับให้บุคคลที่อายุ 11 ขึ้นไป สวมหน้ากากอนามัยในพื้นที่ที่กำหนด ดังแสดงในภาพที่ 1 โดยมีระยะเวลาบังคับ 1 เดือน (1) หลังจากที่สาธารณรัฐฝ...

More Articles

อ่านเพิ่มเติม: วิเคราะห์สถานการณ์

ESRF EBSedited2

 

        แสงซินโครตรอนความเข้มสูงจะกลับมาส่องสว่างอีกครั้งที่เมืองเกรอนอบ (Grenoble) สาธารณรัฐฝรั่งเศส หลังจากแหล่งกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งยุโรป (European Synchrotron Research Facility, ESRF) หยุดการเดินเครื่องตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561  เพื่ออัพเกรดเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนเดิมให้เป็นแหล่งกำเนิดแสงเจิดจ้าขั้นสุด (Extremely Brilliant Source, EBS)  โดยใช้งบประมาณ 150 ล้านยูโร (ประมาณ 6,000 ล้านบาท) ซึ่ง ESRF-EBS จะเปิดให้บริการแก่นักวิจัยทั่วไปอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 สิงหาคม 2563

 

          เครื่องกำเนิดแสงที่เพิ่งอัพเกรดใหม่แกะกล่องนี้มีลักษณะเป็นวงกลมที่มีความยาวเส้นรอบวงถึง 844 เมตร (ใหญ่กว่าเครื่องกำเนิดแสงสยาม 10 เท่า) และสามารถผลิตรังสีเอกซ์ที่มีความสว่างมากกว่าเครื่องเดิมถึง 100 เท่า และยังสว่างกว่าหลอดรังสีเอกซ์ทางการแพทย์ถึง 10 ล้านล้านเท่า โดยรังสีเอกซ์ที่ผลิตได้จาก ESRF-EBS มีความเข้มสูงพอที่ทะลุผ่านตัวอย่างที่มีความหนาสูงสุดถึง 1 เมตร ในขณะที่สามารถศึกษาตัวอย่างได้ที่ความละเอียดสูงระดับอะตอม เคล็ดลับสำคัญที่ทำให้รังสีเอกซ์จาก ESRF-EBS มีความเข้มสูงกว่าเครื่องรุ่นเดิมคือการลดขนาดของลำอิเล็กตรอนให้เล็กลงจนมีขนาดเพียง กว้าง 20 x สูง 2 ไมโครเมตร ซึ่งเล็กลงกว่าเดิมถึง 30 เท่า โดยใช้ชุดแม่เหล็กเทคโนโลยีขั้นสูงในการโฟกัสขนาดลำอิเล็กตรอน

 

          ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา แสงแรกแห่ง ESRF-EBS ถูกนำไปใช้ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ที่กำลังระบาดหนักไปทั่วโลก นักวิจัยระดับแนวหน้าได้ทดลองเริ่มใช้แสงความเข้มสูงเพื่อศึกษาเกี่ยวกับไวรัสก่อโรคโควิด-19 และผลกระทบต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ โดยนักวิทยาศาสตร์ของ ESRF ได้ร่วมมือกับนักวิจัยเพื่อนบ้านละแวกเดียวกันจาก EMBL (European Molecular Biology Laboratory), ILL Neutron for Society (Institut Laue-Langevin), IBS (Institut de Biologie Structurale) ในการศึกษาโครงสร้างของไวรัสและปฏิสัมพันธ์ (interaction) ของไวรัสและเซลล์เพื่อทำความเข้าใจถึงผลกระทบต่อโรคต่ออวัยวะต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เป็นเป้าหมายของเชื้อไวรัส เช่น กลีบปอด ที่ระดับความละเอียดสูงมากกว่าภาพถ่ายเอกซ์เรย์ทั่วไปถึง 1000 เท่า

 

         นักวิจัยยังใช้ระบบลำเลียงแสงผลึกศาสตร์ทั้ง 3 ระบบและกล้องจุลทรรศอิเล็กตรอนแบบแช่แข็ง (Titan cryo-electron microscope) ในการศึกษาผลึกโปรตีนของไวรัสก่อโรคโควิด-19 (SARS-CoV2) เพื่อทำความเข้าใจในกระบวนการพื้นฐานต่าง ๆ ในการเพิ่มจำนวนของไวรัสซึ่งจะช่วยในการหาค้นคว้าหายาต้านไวรัสและการพัฒนาวัคซีน โดยผลการวิจัยที่ได้กำลังจะถูกตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการเร็ว ๆ นี้  

 

แปลและเรียบเรียงโดย ดร. ศิรินาฏ ศรีจันทร์

 

แหล่งข้อมูล:

1. https://www.sciencemag.org/news/2020/07/rebirth-leading-european-facility-promises-revolutionary-advances-x-ray-science?fbclid=IwAR3ml3FU4DPuGV-sOckcR6XnEc-f7aQsNWKEF9Bc0TTQUrs8K25TX_fbm_o
2. https://www.facebook.com/esrfsynchrotron

 

 

ความคืบหน้างานวิจัยยา-วัคซีน

ใครจะเป็นกลุ่มแรกที่จะได้รับวัคซีน โควิด-19       องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำแนะนำเพื่อจัดลำความสำคัญของคนที่ทำงานเกี่ยวกับสุขภาพ และคนที่ทำงานแนวหน้า        เรายังไม่รู้ว่าอีกนานเท่าไร ว...

  Sam Mohiddin นายแพทย์โรคหัวใจซึ่งเป็นผู้นำการวิจัย รวบรวมหลักฐานผลการสแกน MRI ตำแหน่งหัวใจของผู้ป่วยโควิด-19 อาการระดับกลางหรือรุนแรง รวมทั้งของตัวเองและพยายามหาคำตอบว่า “ในบรรดาผู้ป่วยโค...

        ขณะนี้การใช้ยาไฮโดรซีคลอโรควิน (Hydroxychloroquine) ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ซึ่งยานี้เป็นส่วนประกอบหลักในยาต้านมาลาเรีย จึงนำใช้ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาและยารักษาสำหรับผู้ป่วย...

อ่านเพิ่มเติม: ข่าวความคืบหน้างานวิจัยยา-วัคซีน

ซินโครตรอนกับโควิด-19

           อนุภาคไขมันขนาดนาโน ตัวนำส่งขนาดจิ๋ว ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของวัคซีนชนิด mRNA           จากรายงานประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยมในการทดลองทางคลินิกทำให้องค์การอนามัยโลกอนุมัติให้ใช้วัค...

            จากสถานการณ์โรคระบาดโควิด 2019 ซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ที่สามารถแพร่กระจายจากสัตว์สู่มนุษย์ได้นั้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกหันมาสนใจที่จะศึกษาโครงสร้างของตัวโปรตีนจากไวรัสด...

          นักวิจัย จากมหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน (Gottingen University) ได้พัฒนาเทคนิคการใช้แสงซินโครตรอนดูภาพสามมิติของเนื้อเยื่อปอดติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19              นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยเกิท...

อ่านเพิ่มเติม: ซินโครตรอนกับโควิด-19

ข่าวสาร

งานวิจัยนี้เป็นการนำวิทยาศาสตร์ชั้นสูงมาพัฒนาและยกระดับสิ่งทอจากเส้นใยธรรมชาติที่เป็นวัสดุท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเป็นหน้ากากทางการแพทย์ โดยการใช้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอนมาใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างสามมิติ ...

ประมาณหกเดือนที่แล้ว องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับรายงานจากทางการสาธารณสุขของสาธารณรัฐประชาชนจีนว่ามีโรคปอดติดเชื้อระบาดในหวู่ฮั่น ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคนั้นมาจากสัตว์และติดต่อสู่คนได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว แม้ว่านักไวรัสวิทยาเคยมีการเตือนมานานแล้วว่าเชื้อ coronaviruses จากค้างคาวในจีนสามารถทำให้เกิด...

บริษัท i3 Biomedical Inc., ประเทศแคนาดา ผลิตหน้ากากอนามัยแบบใหม่ที่ยับยั้งเชื้อ SARS-CoV-2 ได้สำเร็จ โดยตั้งชื่อว่า “TrioMed Active mask” ซึ่งที่ผิวด้านนอกของหน้ากากสามารถยับยั้งเชื้อไวรัสได้ภายในไม่กี่นาที ทางบริษัทใช้เวลาและเงินหลายล้านดอลลาร์ในการพัฒนาหน้ากากอนามัยนี้  โดยหน้ากากอนามัยแบบใหม่ดั...

อ่านเพิ่มเติม: ข่าวสาร

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

01

Go to top