วิเคราะห์สถานการณ์

            โปรแกรมสามารถดึงข้อมูลโควิด19 ที่เป็นปัจจุบันจากแหล่งข้อมูลในอินเตอร์เนต และแสดงกราฟของข้อมูลชนิดต่างๆ ของประเทศต่างๆ เช่นจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิต ผู้หายป่วย จำนวนการตรวจเชื้อ รวมทั้ง...

          จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม PyCovid ซึ่งได้ประมวลข้อมูลจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิต และผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจนหายในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2563 จะเห็นได้จากกราฟที่ 1 (บน...

              ในวันนี้ (10 ส.ค. 63) นครปารีสจะมีการใช้กฏหมายบังคับให้บุคคลที่อายุ 11 ขึ้นไป สวมหน้ากากอนามัยในพื้นที่ที่กำหนด ดังแสดงในภาพที่ 1 โดยมีระยะเวลาบังคับ 1 เดือน (1) หลังจากที่สาธารณรัฐฝ...

More Articles

อ่านเพิ่มเติม: วิเคราะห์สถานการณ์

06

 

          ในขณะที่เชื้อไวรัสโควิด-19 (Covid-19) ได้ทวีความรุนแรงไปทั่วโลก จากที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่มกราคม 2563 ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกไม่ได้นิ่งนอนใจ ต่างพยายามที่จะหาทางหยุดยั้งการแพร่ระบาดนี้

          การที่จะได้มาซึ่งยารักษา จำเป็นต้องรู้ถึงโครงสร้างของโปรตีนที่สำคัญในเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนจากสถาบันแสงซินโครตรอนในประเทศจีน (Shanghai Synchrotron Radiation Facility) ร่วมกับคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยเซียงไฮ้เทค (ShanghaiTech University) ได้ถอดรหัสโครงสร้างสามมิติของเอนไซม์ชนิดโปรตีเอส (Main Protease) ที่เป็นกุญแจสำคัญในการก่อโรคของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก ปัจจุบันได้มีการเผยแพร่โครงสร้างสามมิตินี้ให้แก่ทีมนักวิจัยต่างๆ ทั่วโลกแล้วมากกว่า 300 ทีม เพื่อช่วยกันพัฒนาการออกแบบยาต้านไวรัสชนิดนี้

          ทางสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนของประเทศอังกฤษ (Diamond Light Source) ได้ค้นพบกลุ่มสารอนุพันธ์ยา 55 ตัว ที่มีความเป็นไปได้สูงในการยับยั้งการทำงานของโควิด-19 จากฐานข้อมูลของยาที่มีอยู่มากกว่า 1,000 ชนิด

          นอกจากนี้ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนของประเทศอิตาลี (Elettra Sinchrotrone Trieste) ได้ร่วมกับ 18 หน่วยงานจากภาครัฐและเอกชนในสหภาพยุโรป ก่อตั้งโครงการวิจัยชื่อ ‘EXSCALATE4CoV (E4C)’ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหายาต้านไวรัสโควิด-19 และพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ต่อสู้ไวรัสที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

          ในขณะเดียวกัน สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนจากสหรัฐอเมริกา (Argonne’s Advanced Photon Source) ร่วมกับ 5 มหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐฯ ค้นพบว่า โปรตีน Nsp15 ของโรค SARS มีความคล้ายกับโควิด-19 ถึง 89% จึงได้ทำการศึกษาโครงสร้างสามมิติของโปรตีน Nsp15 นี้จากไวรัสโควิด-19 และมีความเป็นไปได้ที่จะใช้อนุพันธ์ของยาที่คล้ายกันมาใช้ยับยั้งโควิด-19 แม้ว่าการออกแบบยาและพัฒนาวัคซีนนับว่ามีความสำคัญในการจัดการกับไวรัสชนิดนี้ การป้องกันให้ห่างไกลไวรัสก็สำคัญไม่แพ้กัน

          สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนของประเทศไทย (Synchrotron Light Research Institute) ได้ทำการศึกษาโครงสร้างของวัสดุที่ใช้ทำหน้ากากอนามัย ด้วยเทคนิคการถ่ายภาพสามมิติด้วยรังสีเอกซ์ความเข้มสูง เพื่อต่อยอดในการออกแบบหน้ากากต้านไวรัสต่อไป โดยผลการทดลองนั้นจะมีการนำเสนอในโอกาสต่อไป

          ท่ามกลางวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างเร่งวิจัย และเปิดเผยข้อมูลที่ได้จากการวิจัยมาอย่างรวดเร็วที่สุด เพื่อที่จะหยุดการระบาดในครั้งนี้ เราต้องผ่านมันไปให้ได้ เมื่อคุณอ่านบทความนี้แล้วอย่าลืมล้างมือบ่อยๆนะคะ

 

เอกสารอ้างอิง
http://siais.shanghaitech.edu.cn/siais_eng/2020/0214/c5428a50239/page.htm
https://globalbiodefense.com/2020/03/02/new-coronavirus-protein-reveals-drug-target/
https://www.diamond.ac.uk/covid-19/for-scientists.html
http://www.elettra.eu/comunicazione/news/a-new-project-to-fight-the-spread-of-coronavirus-has-been-approved.html


ผู้เรียบเรียง : ดร.รัตนา เจริญวัฒนาเสถียร, ดร.จักรี์รดา อัตตรัถยา, ดร.นันทพร กมลสุทธิไพจิตร, ดร.แคทลียา โรจนวิริยะ
**************************************************************
ติดต่อขอใช้บริการได้ที่ ซินโครตรอนไทยแลนด์ เซ็นทรัลแล็บ
Synchrotron Thailand Central Lab
โทร. 044-217040 ต่อ 1602-5
โดย สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
Synchrotron Light Research Institute (Public Organization)
www.slri.or.th

ความคืบหน้างานวิจัยยา-วัคซีน

ใครจะเป็นกลุ่มแรกที่จะได้รับวัคซีน โควิด-19       องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำแนะนำเพื่อจัดลำความสำคัญของคนที่ทำงานเกี่ยวกับสุขภาพ และคนที่ทำงานแนวหน้า        เรายังไม่รู้ว่าอีกนานเท่าไร ว...

  Sam Mohiddin นายแพทย์โรคหัวใจซึ่งเป็นผู้นำการวิจัย รวบรวมหลักฐานผลการสแกน MRI ตำแหน่งหัวใจของผู้ป่วยโควิด-19 อาการระดับกลางหรือรุนแรง รวมทั้งของตัวเองและพยายามหาคำตอบว่า “ในบรรดาผู้ป่วยโค...

        ขณะนี้การใช้ยาไฮโดรซีคลอโรควิน (Hydroxychloroquine) ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ซึ่งยานี้เป็นส่วนประกอบหลักในยาต้านมาลาเรีย จึงนำใช้ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาและยารักษาสำหรับผู้ป่วย...

อ่านเพิ่มเติม: ข่าวความคืบหน้างานวิจัยยา-วัคซีน

ซินโครตรอนกับโควิด-19

           อนุภาคไขมันขนาดนาโน ตัวนำส่งขนาดจิ๋ว ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของวัคซีนชนิด mRNA           จากรายงานประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยมในการทดลองทางคลินิกทำให้องค์การอนามัยโลกอนุมัติให้ใช้วัค...

            จากสถานการณ์โรคระบาดโควิด 2019 ซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ที่สามารถแพร่กระจายจากสัตว์สู่มนุษย์ได้นั้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกหันมาสนใจที่จะศึกษาโครงสร้างของตัวโปรตีนจากไวรัสด...

          นักวิจัย จากมหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน (Gottingen University) ได้พัฒนาเทคนิคการใช้แสงซินโครตรอนดูภาพสามมิติของเนื้อเยื่อปอดติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19              นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยเกิท...

อ่านเพิ่มเติม: ซินโครตรอนกับโควิด-19

ข่าวสาร

งานวิจัยนี้เป็นการนำวิทยาศาสตร์ชั้นสูงมาพัฒนาและยกระดับสิ่งทอจากเส้นใยธรรมชาติที่เป็นวัสดุท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเป็นหน้ากากทางการแพทย์ โดยการใช้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอนมาใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างสามมิติ ...

ประมาณหกเดือนที่แล้ว องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับรายงานจากทางการสาธารณสุขของสาธารณรัฐประชาชนจีนว่ามีโรคปอดติดเชื้อระบาดในหวู่ฮั่น ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคนั้นมาจากสัตว์และติดต่อสู่คนได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว แม้ว่านักไวรัสวิทยาเคยมีการเตือนมานานแล้วว่าเชื้อ coronaviruses จากค้างคาวในจีนสามารถทำให้เกิด...

บริษัท i3 Biomedical Inc., ประเทศแคนาดา ผลิตหน้ากากอนามัยแบบใหม่ที่ยับยั้งเชื้อ SARS-CoV-2 ได้สำเร็จ โดยตั้งชื่อว่า “TrioMed Active mask” ซึ่งที่ผิวด้านนอกของหน้ากากสามารถยับยั้งเชื้อไวรัสได้ภายในไม่กี่นาที ทางบริษัทใช้เวลาและเงินหลายล้านดอลลาร์ในการพัฒนาหน้ากากอนามัยนี้  โดยหน้ากากอนามัยแบบใหม่ดั...

อ่านเพิ่มเติม: ข่าวสาร

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

01

Go to top