วิเคราะห์สถานการณ์

            โปรแกรมสามารถดึงข้อมูลโควิด19 ที่เป็นปัจจุบันจากแหล่งข้อมูลในอินเตอร์เนต และแสดงกราฟของข้อมูลชนิดต่างๆ ของประเทศต่างๆ เช่นจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิต ผู้หายป่วย จำนวนการตรวจเชื้อ รวมทั้ง...

          จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม PyCovid ซึ่งได้ประมวลข้อมูลจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิต และผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจนหายในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2563 จะเห็นได้จากกราฟที่ 1 (บน...

              ในวันนี้ (10 ส.ค. 63) นครปารีสจะมีการใช้กฏหมายบังคับให้บุคคลที่อายุ 11 ขึ้นไป สวมหน้ากากอนามัยในพื้นที่ที่กำหนด ดังแสดงในภาพที่ 1 โดยมีระยะเวลาบังคับ 1 เดือน (1) หลังจากที่สาธารณรัฐฝ...

More Articles

อ่านเพิ่มเติม: วิเคราะห์สถานการณ์

        ขณะนี้การใช้ยาไฮโดรซีคลอโรควิน (Hydroxychloroquine) ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ซึ่งยานี้เป็นส่วนประกอบหลักในยาต้านมาลาเรีย จึงนำใช้ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาและยารักษาสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 แม้แต่ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา บราซิล รวมทั้งฝรั่งเศส ต่างให้ความสนใจและสนับสนุนการใช้ยาชนิดนี้สำหรับการป้องกันโรคโควิด-19

        อย่างไรก็ตาม การทดสอบใช้ยาต้านมาลาเรียในกลุ่มผู้ป่วยวงจำกัดในประเทศจีนและฝรั่งเศสประสบความสำเร็จทำให้เกิดความหวัง แต่เมื่อทำทดสอบในระดับคลีนิกในขั้นตอนต่อไป กลับพบว่าไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะใช้เป็นยารักษาโรคโควิด-19ได้ องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงสั่งยุติการทดสอบยาต้านมาลาเรีย เนื่องจากพิจารณาว่ายาชนิดนี้ไม่สามารถลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนาได้

        ยาไฮโดรซีคลอโรควินโดยปกติใช้สำหรับการรักษาโรคมาลาเรียเป็นหลักและโรคอื่นๆ เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคข้ออักเสบ จากคุณสมบัติของยาชนิดนี้สามารถลดอาการไข้และอักเสบ ทำให้เกิดความหวังที่สามารถใช้ยาต้านนี้ในการหยุดยั้งการทำงานของไวรัสที่ก่อโรคโควิด-19

        จากการทดสอบการใช้ยาต้านมาลาเรียในวงจำกัด บ่งบอกว่าสามารถลดระยะเวลาของอาการในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนาบางราย แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงในผู้ป่วยรายอื่น หลังจากนั้นมีการศึกษาทดสอบการใช้ยาต้านมาลาเรียกับกลุ่มผู้ป่วยระดับคลีนิก จำนวน 11,000 รายทั่วประเทศอังกฤษโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด พบว่าไม่มีเปลี่ยนแปลงที่พึงประสงค์จากผู้ป่วยจากโรคโควิด-19 จึงถอดถอนยาต้านมาลาเรียจากงานวิจัยนี้

 

ผลข้างเคียงของยาต้านมาลาเรีย

        ในบางประเทศมีการอนุญาตใช้ยาต้านมาลาเรียกับผู้ป่วยจากโรคโควิด-19ในวงจำกัดภายใต้การควบคุมของผู้เชี่ยวชาญการแพทย์เท่านั้น

        เดือนมีนาคม องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ได้อนุมัติให้ใช้ยาต้านมาลาเรียในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น พร้อมคำเตือนเกี่ยวกับผลข้างเคียงของการใช้ยาชนิดนี้ ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาการเต้นหัวใจผิดปกติในผู้ป่วยโควิดบางราย และห้ามใช้ในภายนอกโรงพยาบาล รวมทั้งการทดสอบในคลีนิก

        อย่างไรก็ตามในเดือนมิถุนายน องค์การฯได้ถอดถอนยาต้านจากตลาดทันที หลังจากไม่พบประสิทธิภาพในการต้านไวรัสก่อโรคโควิด-19ของยาชนิดนี้ และมีรายงานการเกิดภาวะเป็นพิษจากยาในบางรายที่แอบรับประทานโดยปราศจากการควบคุมของแพทย์

 

ทำไมเกิดประเด็นเกี่ยวกับการใช้ยาต้านมาลาเรีย

        เนื่องจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีท่าทีสนับสนุนการใช้ยาต้านมาลาเรีย รวมทั้งยาในตระกูลใกล้เคียงเช่น ยาคลอโรควิน หลังจากผลวิจัยทดสอบการใช้ยาต้านมาลาเรียในผู้ป่วยวงจำกัดในประเทศจีนและฝรั่งเศส ว่า ยาชนิดนี้สามารถรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ได้ ทำให้เกิดข้อโต้เถียงอย่างกว้างขวางในโลกออนไลน์ รวมทั้งกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ถึงความเป็นไปได้ในข้อดีและข้อเสียและผลข้างเคียงของยาต้านมาลาเรีย นำไปสู่การขาดตลาดของยานี้ทั่วโลก

        จากการศึกษาข้อมูลเปรียบเทียบการทดสอบยาต้านมาลาเรีย, ยาคลอโรควิน รวมทั้งยาหลอก ในบุคลากรทางการแพทย์กลุ่มแนวหน้าต่อสู้กับโควิด-19 ทั่วโลก ดำเนินการโดยหน่วยวิจัยโรคเขตร้อนของมหาวิทยาลัยมหิดลและออกซ์ฟอร์ด ซึ่งผู้นำการวิจัยชื้แจ้งว่า ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เชื่อว่ายาต้านมาลาเรียมีประสิทธิภาพในการป้องกันมากกว่าการรักษา ขณะนี้ยังไม่มีผลสรุปงานวิจัยตีพิมพ์ออกมา

 

 แปลและเรียบเรียงโดย ดร.จักรี์รดา อัตตรัถยา

ที่มา: https://www.bbc.com/news/51980731

ความคืบหน้างานวิจัยยา-วัคซีน

ใครจะเป็นกลุ่มแรกที่จะได้รับวัคซีน โควิด-19       องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำแนะนำเพื่อจัดลำความสำคัญของคนที่ทำงานเกี่ยวกับสุขภาพ และคนที่ทำงานแนวหน้า        เรายังไม่รู้ว่าอีกนานเท่าไร ว...

  Sam Mohiddin นายแพทย์โรคหัวใจซึ่งเป็นผู้นำการวิจัย รวบรวมหลักฐานผลการสแกน MRI ตำแหน่งหัวใจของผู้ป่วยโควิด-19 อาการระดับกลางหรือรุนแรง รวมทั้งของตัวเองและพยายามหาคำตอบว่า “ในบรรดาผู้ป่วยโค...

        ขณะนี้การใช้ยาไฮโดรซีคลอโรควิน (Hydroxychloroquine) ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ซึ่งยานี้เป็นส่วนประกอบหลักในยาต้านมาลาเรีย จึงนำใช้ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาและยารักษาสำหรับผู้ป่วย...

อ่านเพิ่มเติม: ข่าวความคืบหน้างานวิจัยยา-วัคซีน

ซินโครตรอนกับโควิด-19

           อนุภาคไขมันขนาดนาโน ตัวนำส่งขนาดจิ๋ว ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของวัคซีนชนิด mRNA           จากรายงานประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยมในการทดลองทางคลินิกทำให้องค์การอนามัยโลกอนุมัติให้ใช้วัค...

            จากสถานการณ์โรคระบาดโควิด 2019 ซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ที่สามารถแพร่กระจายจากสัตว์สู่มนุษย์ได้นั้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกหันมาสนใจที่จะศึกษาโครงสร้างของตัวโปรตีนจากไวรัสด...

          นักวิจัย จากมหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน (Gottingen University) ได้พัฒนาเทคนิคการใช้แสงซินโครตรอนดูภาพสามมิติของเนื้อเยื่อปอดติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19              นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยเกิท...

อ่านเพิ่มเติม: ซินโครตรอนกับโควิด-19

ข่าวสาร

งานวิจัยนี้เป็นการนำวิทยาศาสตร์ชั้นสูงมาพัฒนาและยกระดับสิ่งทอจากเส้นใยธรรมชาติที่เป็นวัสดุท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเป็นหน้ากากทางการแพทย์ โดยการใช้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอนมาใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างสามมิติ ...

ประมาณหกเดือนที่แล้ว องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับรายงานจากทางการสาธารณสุขของสาธารณรัฐประชาชนจีนว่ามีโรคปอดติดเชื้อระบาดในหวู่ฮั่น ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคนั้นมาจากสัตว์และติดต่อสู่คนได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว แม้ว่านักไวรัสวิทยาเคยมีการเตือนมานานแล้วว่าเชื้อ coronaviruses จากค้างคาวในจีนสามารถทำให้เกิด...

บริษัท i3 Biomedical Inc., ประเทศแคนาดา ผลิตหน้ากากอนามัยแบบใหม่ที่ยับยั้งเชื้อ SARS-CoV-2 ได้สำเร็จ โดยตั้งชื่อว่า “TrioMed Active mask” ซึ่งที่ผิวด้านนอกของหน้ากากสามารถยับยั้งเชื้อไวรัสได้ภายในไม่กี่นาที ทางบริษัทใช้เวลาและเงินหลายล้านดอลลาร์ในการพัฒนาหน้ากากอนามัยนี้  โดยหน้ากากอนามัยแบบใหม่ดั...

อ่านเพิ่มเติม: ข่าวสาร

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

01

Go to top