Sam Mohiddin นายแพทย์โรคหัวใจซึ่งเป็นผู้นำการวิจัย รวบรวมหลักฐานผลการสแกน MRI ตำแหน่งหัวใจของผู้ป่วยโควิด-19 อาการระดับกลางหรือรุนแรง รวมทั้งของตัวเองและพยายามหาคำตอบว่า “ในบรรดาผู้ป่วยโควิด-19 เหล่านี้ควรจะวิตกเรื่องสุขภาพหัวใจด้วยหรือไม่ 

 

กระแสเกิดความวิตกกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับโรคโควิด-19 สามารถทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน (myocarditis) ซึ่งจากรายงานจากบรรดาแพทย์ค้นพบกลุ่มผู้ป่วยที่สุขภาพแข็งแรงปกติติดเชื้อก่อโรคโควิด-19 มีอาการหัวใจวายอันเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ  ตัวอย่างผู้ป่วยรายหนึ่ง Abul Kashem อายุ 42 ปี ซึ่งมีอาการติดเชื้อก่อโรคโควิด-19 เมื่อเดือนเมษายน รวมทั้งสูญเสียประสาทการรับกลิ่นและมีการหายใจติดขัด หลังจากนั้นประมาณ 1 เดือนต่อมา เขาล้มป่วยหนักจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบรุนแรง ซึ่งต้องเข้าห้องไอซียูมากกว่า 2 สัปดาห์ ซึ่งก่อให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อก่อโรคโควิด-19 กับหัวใจ 

 

ขณะนี้ทีมวิจัยพยายามหาคำตอบของสาเหตุที่ไวรัสโคโรนาอาจทำให้เกิดปัญหากับกล้ามเนื้อหัวใจได้อย่างไร โดยวิจัยติดตามผู้ป่วยโควิด-19 ในระหว่างมีอาการและหลังฟื้นฟู เพื่อติดตามการอักเสบที่กล้ามเนื้อหัวใจ ระยะเวลาของอาการ และการตอบสนองต่อการรักษา นักวิจัยจะเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากสาเหตุอื่น เช่น การบำบัดด้วยคีโม และเชื้อไวรัสสายพันธุ์อื่น ซึ่งมากกว่าครึ่งของเคสทั้งหมดที่เกี่ยวกับไวรัสก่อโรคโควิด-19 การรักษาผ่านไปด้วยดี อย่างไรก็ตามบางกรณีนำไปสู่ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจล้มเหลวจนต้องมีการเปลี่ยนถ่ายหัวใจ “แม้ว่าสัดส่วนของผู้ติดเชื้อที่มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบดูจำนวนน้อย แต่ยังคงเยอะพอสมควรถ้าเทียบกับผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนานับล้านคน” Peter Liu แพทย์ด้านหัวใจและหัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์ของสถาบันด้านหัวใจแห่งมหาวิทยาลัยออตตาวากล่าว  

 

การมีแนวคิดที่ว่า ไวรัสโคโรนาก่อโรคโควิด-19 สามารถก่อให้เกิดการอักเสบแก่หัวใจรวมทั้งกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบรุนแรงกว่าเชื้อไวรัสสายพันธุ์ตัวอื่นหรือไม่ ยังคงไม่ชัดเจน เพราะเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันทั่วร่างกายอย่างรุนแรง ผู้รอดชีวิตอาจตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะเกิดอาการทางหัวใจ  อีกแนวคิดเสนอว่าแนวโน้มของผู้ป่วยโควิด-19 อาจมีอาการเช่นนี้เป็นไปได้สูง เพราะเชื้อไวรัสเข้าในเซลล์ด้วยการจับคู่กับโปรตีนตัวรับที่เรียกว่า ACE2 (angiotensin-converting enzyme 2) ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ แต่นักวิจัยบางคนเตือนว่าอย่าด่วนสรุปเกินไป Leslie Cooper แพทย์ด้านหัวใจแห่งคลีนิกมาโย ฟลอริดา ระบุว่า “เป็นสมมติฐานที่ดี แต่ยังไม่ได้มีการวิจัยอย่างชัดเจน 

 

อีกเหตผลหนึ่งที่ไม่สามารถสรุปได้ว่า ความชุกของโรคโควิด-19 จะมีผลกระทบต่อความเสี่ยงที่จะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจริงหรือไม่ Valentina Puntmann แพทย์ด้านหัวใจจากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแฟรงค์เฟิร์ต ระบุว่า การศึกษาตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงในกลุ่มผู้ป่วยหลังการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่พบว่า อย่างน้อย 10 เปอร์เซนต์ของผู้ป่วย ค้นพบความผิดปกติของหัวใจ แต่การศึกษานี้ทำในแค่กลุ่มส่วนน้อย เพราะไม่ได้ตรวจสอบกับผู้ป่วยทุกรายที่ฟื้นฟูจากไข้หวัดใหญ่  

 

Puntmann และทีมใช้ MRI สแกนหัวใจของผู้ป่วยโรคโควิด-19 จำนวน 100 ราย ติดเชื้อมาแล้วเฉลี่ย 71 วันตั้งแต่ผลบวกจากการติดเชื้อ ผลการสแกนพบความผิดปกติของหัวใจใน 78 ราย และยังพบอาการอักเสบของหัวใจในผู้ป่วย 60 ราย ซึ่งในกลุ่มนี้มีอาการเรื้อรัง เช่น อาการหมดแรง และการหายใจติดขัด ทำให้เกิดความสงสัยที่ว่าการอักเสบของหัวใจอาจมีส่วนเกี่ยวข้อง 

 

จากการตีพิมพ์โดยทีมวิจัยของ Puntmann ลงวารสาร JAMA Cardiology เดือนกรกฎาคม จุดประเด็นในวงกว้าง ทำให้ทีมวิจัยหลายแห่งต้องทำการวิจัยซ้ำและขยายกลุ่มเป้าหมายใหญ่ขึ้น แพทย์โรคหัวใจหลายคนแนะนำให้ทุกคนที่มีอาการหายใจติดขัดหรือเจ็บหน้าอกหลังฟื้นฟูจากโรคโควิด-19 พบแพทย์ทันที  

 

และเนื่องด้วยสมรรถภาพทางกายของกลุ่มนักกีฬา ทีมแพทย์กีฬาจึงต้องมีแผนการป้องกันการเกิดปัญหาในกล้ามเนื้อหัวใจ จากรายงานวิจัยนี้ระบุว่า จากตรวจสอบนักกีฬาจากมหาวิทยาลัยโอไฮวาสเตท 26 ราย หลังติดเชื้อก่อโรคโควิด-19 พบว่า 4 รายมีการพัฒนาอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ทางลีกกีฬาอาชีพได้ทำการสแกนหัวใจของนักกีฬาทุกรายที่เคยติดเชื้อโรคโควิด-19  ในกลุ่มที่มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบนั้น ไม่ว่ามีอาการหรือไม่จะถูกไม่ให้เข้าร่วมการแข่งขัน เนื่องด้วยความกลัวจะนำไปสู่การเสียชีวิตกะทันหันในระหว่างเล่นกีฬาอย่างหนัก  

 

ขณะนี้มีการหาคำตอบว่าโรคโควิด-19 สามารถก่อปัญหาแก่หัวใจได้อย่างไร Liu บอกว่าเชื้อโคโรนาไวรัสก่อโรคโควิด-19 นี้สามารถก่อปัญหาแก่ระบบภูมิคุ้มกันด้วยวิธีแตกต่างจากเชื้อตัวอื่น จากการผ่าเนื้อเยื่อหัวใจที่เคยติดเชื้อโควิด-19 พบว่าการอักเสบเกิดขึ้นบริเวณหลอดเลือดหัวใจ แทนที่จะเกิดขึ้นกับเซลล์กล้ามเนื้อซึ่งปกติเกิดขึ้นจากการติดเชื้อโรคตัวอื่น และอีกเคสพบการตายแบบแผ่กระจายของเซลล์หัวใจ แต่ผู้วิจัยยังคงไม่ทราบกระบวนการนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ทำให้มีการถกเถียงกันในวงกว้างว่าการอักเสบในกล้ามเนื้อหัวใจเกิดจากเชื้อก่อโรคโควิด-19 หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยคาดหวังการทดสอบยาในเชิงคลีนิกด้วยการใช้ยา beta blocker จะสามารถป้องกันหัวใจล้มเหลวสำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงจากเชื้อก่อโรคโควิด-19 

 

ในขณะเดียวกัน ทาง Mohiddin ได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในผู้ป่วยที่รอดจากโควิด-19 ในงานวิจัยที่เขาเป็นผู้นำ ซึ่งงานวิจัยนี้จะทำการทดสอบกับผู้ป่วยจำนวน 140 ราย ซึ่งยังคงพักฟื้นหรือเพิ่งออกจากโรงพยาบาล พบว่าจำนวน 20 รายมีปัญหากล้ามเนื้อหัวใจอักเสบรุนแรง และไม่พบในรายอื่นที่เหลือ Mohiddin และทีมจะมุ่งเป้ายังระดับทีเซลล์ (T-cellผิดปกติในเลือดของผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ซึ่งอาจช่วยอธิบายระบบภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อปัญหาด้านหัวใจหรือไม่และอย่างไร ทางทีมยังคงศึกษารูปแบบของเซลล์ภูมิคุ้มกันในเลือดสามารถบ่งบอกอาการอักเสบนี้ได้หรือไม่ 

 

แม้ว่าความเป็นไปได้ที่โรคโควิด-19 สามารถก่อให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบได้น้อย แต่สมมติฐานที่ว่า เคสโควิด-19 ระดับความรุนแรง อาจเพิ่มความเสี่ยงแก่หัวใจได้ในหลายปีต่อมา รอยแผลที่เนื้อเยื่อสามารพัฒนาไปสู่โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และจากผลการศึกษาก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่า การเกิดอาการอักเสบในหัวใจแบบเรื้อรังจะส่งผลต่อสุขภาพหัวใจแย่ลง Mohiddin ในฐานะนายแพทย์ด้านหัวใจ กล่าวว่า “พวกเราต้องระบุปัจจัยต่างๆรอบด้านให้มากที่สุด เช่น ความดันสูง คุณคงคาดได้ว่า ในอนาคตนี้ พวกแพทย์ที่ตรวจสุขภาพจะถามผู้ป่วยใหม่ทุกรายว่า คุณเคยติดเชื้อก่อโรคโควิด-19 มาก่อนหรือไม่”  

 

ผู้แปลและเรียบเรียงดร.จักรี์รดา อัตตรัถยา 

 

Go to top