วิเคราะห์สถานการณ์

            โปรแกรมสามารถดึงข้อมูลโควิด19 ที่เป็นปัจจุบันจากแหล่งข้อมูลในอินเตอร์เนต และแสดงกราฟของข้อมูลชนิดต่างๆ ของประเทศต่างๆ เช่นจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิต ผู้หายป่วย จำนวนการตรวจเชื้อ รวมทั้ง...

          จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม PyCovid ซึ่งได้ประมวลข้อมูลจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิต และผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจนหายในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2563 จะเห็นได้จากกราฟที่ 1 (บน...

              ในวันนี้ (10 ส.ค. 63) นครปารีสจะมีการใช้กฏหมายบังคับให้บุคคลที่อายุ 11 ขึ้นไป สวมหน้ากากอนามัยในพื้นที่ที่กำหนด ดังแสดงในภาพที่ 1 โดยมีระยะเวลาบังคับ 1 เดือน (1) หลังจากที่สาธารณรัฐฝ...

More Articles

อ่านเพิ่มเติม: วิเคราะห์สถานการณ์

 

03

 

          การระบาดของไวรัสโคโรน่าได้แพร่กระจายไปทั่วโลก โดยจะจู่โจมทำให้ปอดของผู้ป่วยเสียหาย จนต้องอาศัยเครื่องช่วยหายใจ หรือสามารถเกิดอาการร้ายแรงได้จนถึงขั้นเสียชีวิต โรคCOVID-19 นี้ พบผู้ติดเชื้อได้ทุกวัย แต่มีใครได้สังเกตไหมว่า จากสถิติส่วนใหญ่ผู้ติดเชื้อที่อาการหนักจนถึงขึ้นเสียชีวิต มักจะเป็นผู้ชาย

          จากช่วงมกราคมที่ผ่านมา การระบาดของไวรัสโคโรน่าได้เริ่มต้นขึ้นในมณฑลอู่ฮั่น ประเทศจีน ได้พบว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวจากไวรัสชนิดนี้มากถึง 3 ใน 4 ของผู้ป่วยทั้งหมดเป็น “เพศชาย” ข้อมูลการระบาดของโรค COVID-19 จากทั่วโลก เบื้องต้นได้ยืนยันว่า ผู้ชายไวต่อเชื้อโรคนี้มาก เช่น ในลอมบาร์เดีย ประเทศอิตาลี พบผู้ติดเชื้อเพศชายถึง 82% จากผู้ติดเชื้อทั้งหมด 1,591 คน ที่มีอาการรุนแรง และอัตราการเสียชีวิตของผู้ชายที่ติดเชื้อยังสูงกว่าที่พบในผู้หญิงและเด็กอีกด้วย นักวิทยาศาสตร์จึงวิเคราะห์ถึงการทำงานของเจ้าไวรัสชนิดนี้ โดยตั้งสมมติฐานว่า น่าจะเป็นผลจากฮอร์โมนเพศชาย หรือ แอนโดรเจน (Androgens) เช่น เทสโทสเตอโรน (Testosterone) มีความเป็นไปได้ว่าเจ้าฮอร์โมนเพศชายนี้ จะไปเพิ่มความสามารถให้ไวรัสโคโรน่าเข้าสู่เซลล์ได้ง่ายขึ้น

          งานวิจัยเกี่ยวกับการหาสาเหตุที่ทำให้ผู้ชายไวต่อเชื้อไวรัสโคโรน่าจึงเริ่มต้นขึ้น โดยเริ่มจากกลุ่มนักวิจัยทางสถาบันมะเร็งต่อมลูกหมากซึ่งมีความเชี่ยวชาญเรื่องฮอร์โมนเพศชาย หรือแอนโดรเจนเป็นอย่างดี ซึ่งมีงานวิจัยค้นพบว่า การที่ผู้ชายไวต่อเชื้อโรค COVID-19 อาจจะเกี่ยวข้องกับเอนไซม์ชื่อ TMPRSS2 เนื่องจากเอนไซม์ตัวนี้สามารถตัดขา (Spike) ของโปรตีนบนผิวของไวรัสโคโรน่า ทำให้ไวรัสเชื่อมต่อกับผนังเซลล์ของคนได้ดี แล้วเข้าสู่เซลล์เพื่อขยายตัวต่อไป

          กระนั้นก็ตาม ในขั้นแรกนักวิจัยสถาบันมะเร็งต่อมลูกหมากยังไม่สามารถฟันธงลงไปว่า แอนโดรเจนเป็นตัวควบคุมเอนไซม์ TMPRSS2 ในปอด สำหรับผู้ที่ติดเชื้อ COVID-19 เหมือนกับที่เจอในต่อมลูกหมาก เนื่องจากการทดลองที่พบในคนและในหนูยังไม่สอดคล้องกันนัก แต่หลังจากนั้นนักวิจัย แอนเดรีย อลิมนติ (Andrea Alimonti) หัวหน้าภาควิชามะเร็งวิทยาระดับโมเลกุล (Head of molecular oncology) จากมหาวิทยาลัย Università della Svizzera italiana ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ได้ทำการทดลองเพื่อสนับสนุนว่า แอนโดรเจนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อจริง ด้วยการสำรวจในผู้ชายที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมากกว่า 42,000 คน ในเวเนโต ประเทศอิตาลี โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งจะให้ยายับยั้งแอนโดรเจน และอีกกลุ่มไม่ได้รับ ผลที่ได้พบว่ากลุ่มที่ได้รับยากดแอนโดรเจนไว้ มีเพียง 25% ที่ติด COVID-19 เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยา ถึงแม้จะพบกลุ่มผู้รับยาก็ติด COVID บ้าง แต่ก็เป็นจำนวนน้อย และมักจะไม่มีอาการรุนแรงหรือเสียชีวิต

          นอกจากนี้ยังมีการวิจัยที่ยังทำการทดลองจากที่ต่างๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการทดสอบแบบอำพรางทั้งสองฝ่าย (Doulbe blind) แบบสุ่ม (Randomized) และการให้ยาหลอก (Placebo-controlled) ในผู้ติดเชื้อที่ลอสแองเจิลลิส ซีเอสเทิล และนิวยอร์ค อีกด้วย

          แม้ว่าผลการทดสอบหลายครั้งจะแสดงให้เห็นทิศทางที่สอดคล้องกันว่าฮอร์โมนเพศจะมีผลต่อการทำงานของไวรัสโคโรน่านี้ แต่เหล่านักวิจัยก็ยังไม่หยุดที่จะทำการทดลองต่อไป เพื่อให้มั่นใจว่าหลักฐานในการทดลองทุกชิ้นต้องชี้เป้าไปที่จุดเดียวกัน

 

แปล : ดร.นันทพร กมลสุทธิไพจิตร

**************************************************************

แหล่งอ้างอิง

1. https://www.sciencemag.org/news/2020/06/why-coronavirus-hits-men-harder-sex-hormones-offer-clues

2. https://www.nytimes.com/2020/02/20/health/coronavirus-men-women.html

3. https://www.annalsofoncology.org/article/S0923-7534(20)39797-0/fulltext

 

ความคืบหน้างานวิจัยยา-วัคซีน

ใครจะเป็นกลุ่มแรกที่จะได้รับวัคซีน โควิด-19       องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำแนะนำเพื่อจัดลำความสำคัญของคนที่ทำงานเกี่ยวกับสุขภาพ และคนที่ทำงานแนวหน้า        เรายังไม่รู้ว่าอีกนานเท่าไร ว...

  Sam Mohiddin นายแพทย์โรคหัวใจซึ่งเป็นผู้นำการวิจัย รวบรวมหลักฐานผลการสแกน MRI ตำแหน่งหัวใจของผู้ป่วยโควิด-19 อาการระดับกลางหรือรุนแรง รวมทั้งของตัวเองและพยายามหาคำตอบว่า “ในบรรดาผู้ป่วยโค...

        ขณะนี้การใช้ยาไฮโดรซีคลอโรควิน (Hydroxychloroquine) ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ซึ่งยานี้เป็นส่วนประกอบหลักในยาต้านมาลาเรีย จึงนำใช้ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาและยารักษาสำหรับผู้ป่วย...

อ่านเพิ่มเติม: ข่าวความคืบหน้างานวิจัยยา-วัคซีน

ซินโครตรอนกับโควิด-19

           อนุภาคไขมันขนาดนาโน ตัวนำส่งขนาดจิ๋ว ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของวัคซีนชนิด mRNA           จากรายงานประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยมในการทดลองทางคลินิกทำให้องค์การอนามัยโลกอนุมัติให้ใช้วัค...

            จากสถานการณ์โรคระบาดโควิด 2019 ซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ที่สามารถแพร่กระจายจากสัตว์สู่มนุษย์ได้นั้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกหันมาสนใจที่จะศึกษาโครงสร้างของตัวโปรตีนจากไวรัสด...

          นักวิจัย จากมหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน (Gottingen University) ได้พัฒนาเทคนิคการใช้แสงซินโครตรอนดูภาพสามมิติของเนื้อเยื่อปอดติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19              นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยเกิท...

อ่านเพิ่มเติม: ซินโครตรอนกับโควิด-19

ข่าวสาร

งานวิจัยนี้เป็นการนำวิทยาศาสตร์ชั้นสูงมาพัฒนาและยกระดับสิ่งทอจากเส้นใยธรรมชาติที่เป็นวัสดุท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเป็นหน้ากากทางการแพทย์ โดยการใช้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอนมาใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างสามมิติ ...

ประมาณหกเดือนที่แล้ว องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับรายงานจากทางการสาธารณสุขของสาธารณรัฐประชาชนจีนว่ามีโรคปอดติดเชื้อระบาดในหวู่ฮั่น ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคนั้นมาจากสัตว์และติดต่อสู่คนได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว แม้ว่านักไวรัสวิทยาเคยมีการเตือนมานานแล้วว่าเชื้อ coronaviruses จากค้างคาวในจีนสามารถทำให้เกิด...

บริษัท i3 Biomedical Inc., ประเทศแคนาดา ผลิตหน้ากากอนามัยแบบใหม่ที่ยับยั้งเชื้อ SARS-CoV-2 ได้สำเร็จ โดยตั้งชื่อว่า “TrioMed Active mask” ซึ่งที่ผิวด้านนอกของหน้ากากสามารถยับยั้งเชื้อไวรัสได้ภายในไม่กี่นาที ทางบริษัทใช้เวลาและเงินหลายล้านดอลลาร์ในการพัฒนาหน้ากากอนามัยนี้  โดยหน้ากากอนามัยแบบใหม่ดั...

อ่านเพิ่มเติม: ข่าวสาร

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

01

Go to top